Clubhouse (คลับเฮ้าส์) บนแพลทฟอร์ม iOS ซึ่งเป็น Icon รูปคนสีเทาๆ ดูง่ายๆ สบายๆ ไม่ได้สื่อถึงความโซเชียลเน็ทเวิร์กเลยสักนิด.. แพลทฟอร์มนี้คืออะไร ใช้แต่เสียงจริงๆหรอ ความสัมพันธ์นี้จะเดินหน้าต่อไปอย่างไร ไขข้อข้องใจกันค่ะ
Clubhouse คือ
แพลทฟอร์มที่เปิดตัวมาในปี 2020 คอนเทนท์หลัก คือ การใช้เสียง ที่ไม่สามารถมานั่งฟังย้อนหลังได้ แบ่งเป็นห้องสนทนาที่มีหัวข้อหลากหลายให้คนที่สนใจในเรื่องเดียวกันเข้ามานั่งฟัง ร่วมวิเคราะห์-ถกเถียง สถานะผู้ใช้มี 3 แบบ คือ Listener-ผู้ฟัง , Speaker – ผู้พูด ที่ขอสิทธิ์ได้จากการยกมือ และ Moderator -ผู้ดูแลห้อง เพื่อควบคุม มอบสิทธิ์ในการเปิด /ปิดไมค์ใครก็ได้
ลักษณะพิเศษ
ต้องมีคำเชิญจากคนที่ใช้งาน Clubhouse อยู่แล้ว ( 1 บัญชีชวนได้ 2 คน) จึงเข้ายากและ Ecxlusive สุดๆ รองรับแค่ผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนกลุ่ม iOS เท่านั้น. Community นี้ยังแบ่งเป็นห้องต่างๆ ตาม Topic จึงเป็นเหมือนพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนไอเดียและฟังความคิดสร้างสรรค์ กระทบไหล่บุคคลผู้มีชื่อเสียระดับโลก(ทางเสียง) อย่าง Elon Musk , Mark Zuckerberg , Oprah Winfrey แม้แต่ Donald Trump Jr. เป็นต้น
อีกอย่างนึงที่ทำให้แพลทฟอร์มนี้เป็นที่นิยมในบ้านเรา คือ การแสดงความคิดเห็นแบบเปิดเผยตัวตนที่รู้ได้ว่าใครจะเป็นคนรับสาร มีความ Real มากขึ้น และฟีเจอร์ “ถูกติดตาม” (follow) ที่จะเห็นรายชื่อลอยเด่นๆรวมกัน จึงเป็นการให้เกียรติทั้งผู้พูดและผู้ฟังด้วย เมื่อเสร็จสิ้นแล้วกด End room ก็จะปิดห้องสนทนานี้ไปแบบไม่มีการบันทึกไว้ จึงน่าสนใจดีค่ะ
เริ่มต้นใช้ Clubhouse
แม้สิทธิ์ในการเข้าใช้งานหลายคนอาจโดนขอไปหมดแล้ว ยังมีหวังสำหรับหน้าใหม่ เพียงโหลดแอพฯ และลงทะเบียน ด้วยชื่อ-นามสกุลจริง เบอร์โทรศัพท์ เราจะได้คิวรอเพื่อรับสิทธิ์ ถ้าเรามีเบอร์เพื่อนๆที่ใช้ Clubhouse ใน contact list เขาก็มีโอกาสได้รับการแจ้งเตือนว่า “ เพื่อนของเธอกำลังสมัครเข้ามาแหนะ อยากจะให้ช่วยลัดคิวให้เค้ามั๊ย?” ถ้าเพื่อนๆเรากด “ลัดคิว” ให้ (ไม่ใช่สิทธิ์ invite) ก็จะได้สิทธิ์กันได้เลย!
ความสัมพันธ์ในรูปแบบเสียง ลดเวลาตั้งกล้อง ตัดต่อ แม้แต่การแต่งหน้า และด้วยความที่พลาดแล้วจะมาฟังย้อนหลังไม่ได้ ยิ่งกลับเป็นที่น่าสนใจไปใหญ่ เครื่องมือนี้จึงแชร์เรื่องราว, ความรู้ ที่เข้าถึงได้ทุกมุมโลกแบบเรียลไทม์ ฟรี! ไม่มีโฆษณามาขัดจังหวะ Clubhouse จึงได้ใจหลายคนไปแบบเต็มๆ ไงค่ะ!
Photo by Dmitry Mashkin on Unsplash