‘ต้นไม้’ ทั้งช่วยสร้างบรรยากาศ เติมความมีชีวิตชีวา และถูกมองหาเพื่อประดับตกแต่งกันมากขึ้น ที่เราจะพูดถึงวันนี้ ขอเน้นไปทางสายพันธุ์ไม้ด่างโดยเฉพาะเลยค่ะ ด้วยความที่หายาก มีสนนราคาที่พุ่งไปไกล ลองมารู้จักเรื่องราวของโลกไม้ด่างสุดปัง ที่สายนี้ไม่ควรพลาดกัน
ความนิยม
ตัวท็อปของวงการ คือสายพันธุ์ Philodendron (มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบอเมริกาใต้) มีสายพันธุ์ย่อยเยอะ เหมาะกับการเลี้ยงประดับในร่ม มีกระแสในต่างประเทศ ส่วนไม้ด่างยอดนิยมในบ้านเราก็จะมียางอินเดียด่าง , Monstera (ราคาจะแพงกว่าใบเขียวๆมาก) , Pink Princess , Floridabeauty (ฟิโลก้ามกุ้ง) และ กล้วยด่าง (มีหลายสายพันธ์ุ เช่น แดงอินโด , น้ำว้ามะลิอ่อง , กล้วยฟลอริด้า , กล้วยป่าด่างลายหินอ่อน และกล้วยเทพพนมด่าง) ที่เคยตกเป็นข่าวว่าขายกันถึงหลักหมื่นหลักแสนเลยทีเดียว
ไม้เอย.. ทำไมจึงด่าง?
ใบไม้ส่วนใหญ่ต้องมีสีเขียว ‘ไม้ด่าง’ มาจากยีนส์ด้อยที่กลายพันธ์ ขาดแสง รึขาดสารอาหาร จึงมีผลกระทบต่อเนื้อเยื่อใบ ทำให้มีความสวยที่แปลกตา ยิ่งบวกกับช่วงสถานการณ์โควิดที่ออกไปไหนไม่ค่อยได้ คนจึงนิยมเล่นไม้ใบกันเยอะ พอมีประเภทใบด่างที่ไม่สามารถเพาะด้วยเมล็ดแต่ต้องขยายพันธ์ด้วยวิธีตัดชำเท่านั้น จึงทำได้ช้ากว่าและมีราคาสูงขึ้น ซัพพลายเออร์มีน้อย ความต้องการมีมากตามวงจรเค้าล่ะ
ไม้ด่างราคาไม่แรง ก็มีนะ!
เงินไหลมา : แค่ชื่อก็น่าเลี้ยงมั๊ยล่ะ ใบน้องจะดูยาวๆ รีๆ คล้ายกับว่าว ชอบแดดแค่พอรำไร ดินต้องชุ่มชื่นๆเข้าไว้ แถมช่วยฟอกอากาศด้วยนะจ๊ะ
พลูด่าง-พลูงาช้าง : หน้าตาจะคล้ายๆกันอยู่ แต่เจ้าพลูงาช้างใบจะออกทรงเหมือนรูปหัวใจกว่า เลยเป็นเคล็ดเบาๆว่าเรื่องรักๆใคร่ๆจะโดน เลี้ยงก็ง่าย แค่ปักๆในร่มรำไรก็พอ
บอนสีอิเหนา : ราชินีไม้ใบเลยก็ว่าได้ แต่น้องจะชอบแดดจัด ปลูกตรงริมระเบียงน่าจะดี เป็นได้ทั้งไม้มงคลและช่วยฟอกอากาศ พร้อมใบลายๆสวยๆ ด่างแค่ไหนก็ไม่ขึ้นค่าตัว
คล้าด่างขาว : ปิดท้าย ด้วยต้นที่เตะตาสุดๆ น้องสวย หายากและแพงสุดในรายชื่อที่ผ่านมา ใบจะเป็นลายพลิ้วสวย ด้านล่างของใบเป็นสีชมพูอมม่วง ชอบดินฉ่ำๆ และแดดแค่พอรำไรๆ เดี๋ยวใบจะไหม้เอา
แนะนำมือใหม่หัดเล่นต้นไม้ ไม่ควรเริ่มจากพันธ์ุแพงๆค่ะ ลองประเภทหลักร้อยไปก่อน พอเริ่มมีความรู้ความชำนาญก็ค่อยขยับไปสายพันธุ์ที่ราคาสูงขึ้น พร้อมลู่ทางในการหารายได้เสริม ซื้อ-ขายก็ง๊ายง่าย ทั้ง Facebook ,IG และ แอพฯช้อปปิ้งต่างๆ เล็งไอเท็มสำหรับการเพาะปลูกก็ได้ในหลายราคา
Photo by vadim kaipov on Unsplash