โรคใหลตายคืออะไร ใครเสี่ยงบ้าง ?

เมื่อไม่นานมานี้วงการบันเทิงช็อคกับการจากไปของนักแสดงวัยรุ่นคนหนึ่งซึ่งเสียชีวิตจากโรคใหลตาย ถึงแม้เราจะเคยได้ยินมาบ้างแต่เพื่อนๆรู้หรือเปล่าคะว่า โรคใหลตายคืออะไร ? และใครบ้างที่เสี่ยงเป็นโรคนี้บ้าง ? รู้ไว้ใช่ว่า เราไปหาคำตอบพร้อมๆกันดีมั้ยคะ ? 

โรคใหลตายคืออะไร ? 

แพทย์ประจำสาขาโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์สาสตร์โรงพยาบาลมหิดล และรามาธิบดีระบุว่า “โรคใหลตาย “ หรืออาการหัวใจล้มเหลียวเฉียบพลัน เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมของการนำเกลือแร่โซเดียมเข้าออกเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะขึ้นอย่างรุนแรง ทำให้ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกายได้โดยเฉพาะสมอง เมื่อสมองขาดออกซิเจนอาจทำให้มีอาการชัก เกร็ง และทำให้เสียชีวิตกระทันหันค่ะ.

สาเหตุและอาการ 

สาเหตุ : ส่วนหนึ่งมาจาก การกินอาหารที่มีสารพิษเข้าไปโดยไม่รู้ตัวจนมันสะสมจนเป็นพิษต่อหัวใจ , ขาดวิตามินบี 1อย่างเฉียบพลัน ทำให้คนที่แข็งแรงอยู่ดีๆกลับอ่อนเพลียและอยากนอนพ, และภาวะทุพโภชนาการและนิสัยการกินที่ผิดปกติ และเกิดจากหัวใจห้องล่างเกิดไฟฟ้าลัดวงจรทำให้มีการเต้นไม่สม่ำเสมอทำให้หัวใจห้องล่างบีบตัวไม่ได้ เลือดไปเลี้ยงร่างกายและสมองไม่เพียงพอ 

อาการ : อาการโรคใหลตายจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วใช้เวลาระยะสั้นๆ เพียงแค่ 3-4 นาทีเท่านั้นก่อนจะเสียชีวิต อาการที่สังเกตุได้คือ แขน- ขาเกร็ง หายใจเสียงดังเพราะมีเสมหะในหลอดลม ใบหน้าและริมฝีปากจะเขียวคล้ำค่ะ

กลุ่มเสี่ยง และวิธีป้องกัน

ผู้ที่เสียชีวิตจากโรคใหลตายส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชายที่มีอายุเฉลี่ย 25-55 ปี ในผู้หญิงและเด็กก็มีบ้าง ส่วนใหญ่จะพบทางภาคเหนือ และภาคอีสานของบ้านเราค่ะ 

โรคใหลตายถึงแม้จะยังไม่มีการรักษาโดยตรง แต่ก็มีวิธีทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะน้อยครั้งที่สุด และหลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ภาวะที่ทำให้ร่างกายตึงเครียดมากๆ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ลดอาหารที่มีแป้ง น้ำตาล ไขมัน สูง และดื่มน้ำก่อนนอนค่ะ

โรคใหลตาย เป็นโรคที่ตายไม่ทันรู้ตัวเพราะเกิดขึ้นกระทันหัน ก่อนนอนก็ปกติดี แต่ตอนเช้ากลับไม่ตื่นซะงั้น ถึงแม้จะไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยซักเท่าไหร่ แต่ถ้าเราระวังดูแลหัวใจ และเอาใจใส่ภาวะทุพโภชนาการของตัวเองให้ดี หลีกเลี่ยงสิ่งที่ไปกระตุ้นให้หัวใจทำงานผิดปกติ เราก็อาจจะไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงคะ แต่ถ้ารู้สึกมีความผิดปกติของหัวใจก็รีบไปพบคุณหมอตั้งแต่เนิ่นๆนะคะ ปลอดภัยไว้ก่อนค่ะ

Photo by Jordan Bauer on Unsplash