‘โรคหลงผิด’ (delusional disorder) และวิธีรับมือ!

ความตึงเครียดที่เกิดขึ้นทั้งต่อตัวผู้ป่วยเอง , คนในครอบครัว จากกลุ่มโรคจิตเวชที่อาจรู้สึกไม่กล้ายอมรับว่าตัวเองป่วย เช่น “โรคหลงผิด” (delusional disorder) กำลังถูกมองข้าม! รู้จักอาการและสภาพความเป็นจริงในข้อนี้กัน..

ชนิดของอาการ

โรคนี้พบได้บ่อยน้อยกว่าโรคจิตเภทอื่นๆ แต่มีจำนวนผู้ป่วยอยู่อีกจำนวนมากที่ไม่ไปพบแพทย์ หรือ ยอมรับว่าตัวเองมีอาการนี้ (เฉลี่ยอยู่ในช่วงวัย 40 ปี) 

..อาการหลงผิด (delusion) คือ ความผิดปกติทางระบบความคิด โดยอาจมีความเชื่อผิด ๆ หรือ เชื่ออย่างสนิทใจในด้านใดด้านหนึ่งโดยไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงจนทำให้เกิดปัญหาในชีวิต..

ชนิดของอาการที่บ่อย ได้แก่ 

คิดว่าคู่นอกใจตน (jealous type)  : นำไปสู่ภาวะเครียด ซึมเศร้า ทะเลาะเบาะแว้ง หนักถึงขั้นจบลงด้วยการหย่าร้างและฆ่าตัวตาย

คิดว่ามีผู้ปองร้าย (persecutory type) : มีคนคอยติดตาม/วางแผนใส่ร้ายอยู่

คิดว่ามีผู้อื่นหลงรัก / เป็นคู่รักของตน (erotomanic type) : ตีความพฤติกรรมของคนที่มีชื่อเสียง , ดูดี ว่ามีใจให้ 

คิดว่าร่างกายมีความผิดปกติ / เป็นโรค (somatic type) : ทั้งที่ไม่เป็นความจริง เช่น มีพยาธิ/แมลงในผิวตน

วิธีรับมือ & รักษา

ถ้าผู้ป่วยเลือกที่จะไม่ไปพบแพทย์ ยืนกรานปฏิเสธการรักษา หรือ ไม่ให้ความร่วมมือย่อมจะมีการรักษาตามอาการที่ค่อนข้างยาก ญาติของผู้ป่วย/คนใกล้ชิด จึงจะต้องพูดคุย-ชักชวนมาด้วยดีอย่างที่ไม่โทษตัวตนของเค้า. ยาหลักในการรักษาเพื่อลดความรุนแรงของโรค คือ ยารักษาโรคจิต (antipsychotic) ที่ผู้ป่วยร้อยละ 20 จะมีอาการดีขึ้น/หลงเหลืออาการอยู่บ้าง แต่ก็จะมีในบางกรณีที่จะต้องให้นักจิตบำบัดช่วยเหลือเพื่อปรับสภาพจิตใจ

..ใส่ใจคนใกล้ตัว ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามออกไปทั้งในชีวิตเค้าและชีวิตครอบครัว ไม่มีใครอยากจะเป็นผู้ป่วย ดังนั้น จึงต้องเป็นความร่วมมือของทั้งบ้าน เพื่อจับจูงกันก้าวผ่านสถานการณ์ที่ฝแย่ลง รึยากลำบาก!

อ้างอิง

Photo by Simran Sood on Unsplash