โรคตับแข็ง ภัยเงียบตัวร้ายที่ไม่ได้มาจากแค่ดื่มหนัก!

ไม่ใช่นักดื่ม.. ยังควรต้องระวังอาการของ ‘โรคตับแข็ง’ ด้วย หากไม่อยากเสี่ยงต่อภัยร้ายตัวนี้ เราจึงต้องเช็คสาเหตุ-อาการให้ดี รู้ได้อย่างไรว่าเข้าข่าย พร้อมแนวทางวินิจฉัยรักษา ลองมาทำความเข้าใจกันค่ะ 

“ตับ” คือ อวัยวะที่สำคัญมากโดยทำหน้าที่สะสมโปรตีน-วิตามินในร่างกาย คอยกำจัดสารพิษและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค เรียกได้ว่า ตับพัง.. เราอยู่ยากแน่!

โรคตับแข็ง คืออะไร?

ต้นเหตุของการเสียชีวิตของประชากรโลกเป็นอันดับที่ 8 คือ “ตับแข็ง” ที่เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของตับ มีพังผืดเกิดขึ้นจนขัดขวางการไหลเวียนของเลือด จนตับไม่สามารถทำงานได้ปกติและเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา. สาเหตุหลัก มาจากการดื่มสุราในปริมาณมากๆเป็นเวลานาน โดยเฉลี่ย คือ ผู้หญิง ดื่มวันละ 2-3 ครั้ง / ผู้ชาย ดื่มวันละ 3-4 ครั้ง จนเกิดภาวะตับแข็งได้. สาเหตุอื่นๆ ยังมาจากการป่วยเป็นไวรัสตับอักเสบบีและซี , โรคทางพันธุกรรมที่ร่างกายไม่สามารถขับแร่ธาตุบางอย่างได้อย่างปกติ , คนไข้โรคอ้วน หรือ เบาหวาน ที่มีภาวะไขมันพอกตับ , อาการแพ้ภูมิตนเอง , ภาวะหัวใจเรื้อรัง จนมีการอุดกั้นของหลอดเลือดดำ หรือ การได้รับยา/สมุนไพรบางชนิดที่ส่งผลต่อตับ

อาการของโรค

โดยมากในภาวะแรกเริ่มจะไม่แสดงอาการ มีแค่ความรู้สึกอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้  หรือ นอนไม่หลับ แต่ที่น่ากลัว คือ ภาวะแทรกซ้อน เช่น อาการขาบวมผิดปกติ , ท้องมาน , ภาวะดีซ่าน , มีรอยช้ำทั่วตัวและเลือดออกง่าย , คันตามเนื้อตัว , นิ่วในถุงน้ำดี , ความผิดปกติในระบบหลอดเลือดที่อาจถึงแก่ชีวิต และ ผู้ป่วยโรคตับแข็งยังมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อง่ายเพราะภูมิคุ้มกันต่ำค่ะ

พฤติกรรมเสี่ยง / การรักษา

การเปลี่ยนคู่นอนบ่อยโดยไม่มีการป้องกันโรค , การใช้สารเสพติด/ใช้เข็มร่วม , การสัก/เจาะร่างกายด้วยอุปกรณ์ไม่สะอาด และ มีประวัติคนในครอบครัวที่เป็นไวรัสตับอักเสบบีควรต้องไปตรวจวินิจฉัยโรค นอกจากนี้ คือ พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ ภาวะโรคอ้วน หรือ การใช้ยา-อาหารเสริมที่ไม่มีข้อบ่งชี้. แพทย์จะวินิจฉัยเพื่อการรักษาที่ตรงตามสาเหตุร่วมกับการตรวจเลือด ให้ยาต้านไวรัสตับอักเสบบีหรือซี/ยากดภูมิคุ้มกัน ประเมินระยะของโรคเพื่อหาภาวะแทรกซ้อนโดยการส่องกล้อง , อัลตราซาวด์ หรือ ให้วัคซีนที่จำเป็น ควบคู่ไปกับการที่ผู้ป่วยต้องระวังการใช้แอลกอฮอล์ การออกกำลังกายเร็วๆ แรงๆ ควบคุมโภชนาการ และไม่ใช้ยาที่ทำลายตับ เช่น พาราเซตามอลค่ะ 

โรคตับ.. ยังไม่สามารถทำให้กลับมาดี 100 เปอร์เซ็นดังเดิม แต่สามารถทำการรักษาอย่างถูกต้องเพื่อชะลอความเสียหาย หรือ กระตุ้นการทำงานให้ดีขึ้นโดยควบคุมภาวะแทรกซ้อน สิ่งสำคัญ จึงอยู่ที่เราจะต้องดูแลสุขภาพให้ดีตั้งแต่วันนี้ หลีกเลี่ยงไลฟ์สไตล์ที่ส่งผลให้ตับเสียหาย รึทำงานหนัก ไม่ว่าจะเป็นนักดื่มหรือไม่ เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันโรคค่ะ!

ภาพโดย Martin Büdenbender จาก Pixabay