แผลในใจ… เจ็บปวดแค่ไหน? วิธีอยู่กับมันให้ได้!

แผลภายนอก.. นานวันผ่านไปยังพอตกสะเก็ดได้ แต่สำหรับ ‘แผลในใจ’ บางคราวก็อาจโชกเลือด ถึงขั้นเหวอะหวะได้

แผนในใจที่อาจยากจะสมานดังเดิม ดีกว่ามั้ย? ถ้าเราจะพยายามอยู่กับมันให้ได้ และเข้าใจด้วยว่าในร่องรอยนี้ยังคงพอมีสิ่งที่นำกลับไปเป็นบทเรียนได้เช่นกัน! 

ลักษณะของแผนในใจ

การประสบอุบัติเหตุทางใจ (psychological trauma) หรือ บาดแผลเรื้อรังทางจิตใจ.. ความเจ็บปวด ทรมานนี้ มักเกี่ยวข้องกับความทรงจำแย่ๆ ซึ่งผูกกับกลไกทางธรรมชาติที่ทำให้เลือนลางลงได้ แต่หากถูกกระตุ้นด้วยเรื่องราวบางอย่างก็มักจะเกิดปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่ตอบสนองอย่างรุนแรง  นอกจากนั้น อาจกลายเป็นความรู้สึกเฉยชาและไม่เคยคิดต่อว่าจะใช้ชีวิตอยู่ไปเพื่ออะไร!! 

มอง ‘แผลในใจ’ ให้เป็นพลัง!

‘เธอจะต้องตกกระป๋อง’ ‘เธอจะเป็นหมาหัวเน่า’ หรือ ‘เธอไม่เคยดีอะไรสักอย่าง!’ อาจสร้างบาดแผลในใจได้ลึกพอสมควร จึงต้องมีการ ‘ฉุกคิด’ และ ‘เข้าใจ’ เพื่อค่อยๆเยียวยาสลายพิษบาดแผล เราควรมองว่า สิ่งนี้จะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้เข้าใจตัวเอง , เข้าใจผู้อื่น และเข้าใจชีวิตมากขึ้น และ ก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ ไปได้  เพราะทุกๆสิ่ง ย่อมมีแง่มุมที่สร้างคุณความดีอยู่ ต้อง ‘รู้จักมองและรู้จักใช้’ ด้านนั้นให้เป็นพลังบวก!

อีกจุดหนึ่งของบาดแผลในใจ อาจมาจากการเลี้ยงดู ที่เผลอทำต่อๆกันมา ไม่ทันได้ ‘ฉุกคิด’ ว่า จะตามมาด้วยอะไรบ้าง  นักจิตแพทย์จึงเน้นย้ำถึงสถาบันครอบครัวให้มอบความรัก พูดจาและการปฏิบัติต่อกันอย่างเห็นอกเห็นใจ เพื่อเป็นการเยียวยา และไม่เพิ่ม ‘คนไข้ที่มีบาดแผลลึกทางใจ’ เป็นรายถัดๆไป!

Photo by Zohre Nemati on Unsplash