เมื่อรู้สึก ‘อ่อนเพลีย’ จนถึงกับ ‘อ่อนใจ’ มีวิธีรับมือ!

บางครั้งที่เราอาจรู้สึกหมดเรี่ยวหมดแรง , หมดพลังงานจนไม่อยากจะขยับตัวทำอะไร , รู้สึกว่าป่วยนะ.. แต่อธิบายเป็นคำพูดออกมาไม่ได้น่ะสิ!  อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้กับร่างกายและสภาพจิตใจของเราค่ะ

..ความอ่อนเพลีย หรือ Fatigue ที่ทำให้รู้สึกเหนื่อยล้าจนแทบอยากถอดใจ เป็นผลมาจากอะไรบ้าง พร้อมวิธีช่วยให้เรารับมือกับความ ‘อ่อนเพลีย’ แบบไม่ ‘อ่อนใจ’!

ต้นตอของความรู้สึกอ่อนเพลีย

ปัจจัยและสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน อาจทำให้ตัวเราเอง-คนที่เรารัก รู้สึกเหนื่อยล้า หมดเรี่ยวแรง หรือ อ่อนแอ  จาก 3 ปัญหาหลัก คือ 

การใช้ชีวิต – หักโหมงานหนัก จนไม่มีเวลากิน-เวลานอน , ออกกำลังกายหนักเกินไป/ไม่ออกเลย  , ดื่มเครืองดื่มที่มีคาเฟอีน/แอลกอฮอล์มากเกินไป , เจ็ตแล็ก (Jet lag) , รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์เป็นนิสัย หรือ ใช้ยาบางชนิด เช่น ยาแก้แพ้-แก้ไอ จะทำให้รู้สึกอ่อนเพลียได้แน่ๆ 

ภาวะทางสุขภาพ – บางท่านอาจต้องใช้ยารักษาโรค หรือ วิธีการรักษาบางชนิด เช่น ไทรอยด์ , โรคปอด , ถุงลมโป่งพอง , ภาวะโลหิตจาง , การฉายรังสี-เคมีบำบัด , โรคเบาหวาน , โรคหัวใจ , มะเร็ง , โรคอ้วน หรือแม้แต่การตั้งครรภ์ ก็เป็นได้ที่จะรู้สึกอ่อนเพลียร่วมด้วย

ปัญหาสุขภาพทางจิตใจ – อย่างสุดท้ายที่ทำให้เกิดความอ่อนเพลีย ควบคู่ไปกับ ความรู้สึกอ่อนใจ อาจมาจากโรคเครียด , โรควิตกกังวล , อาการซึมเศร้า หรือ โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล (Seasonal Affective Depression) ได้

ทางออกของปัญหา

ควรแก้ที่ต้นเหตุหลัก เช่น ปรับเปลี่ยนรูปแบบชีวิต , ดื่มน้ำเยอะๆ , นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ , ออกกำลังกายสม่ำเสมอ , รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ , หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติดทุกชนิด หากเป็นความเหนื่อยล้าที่ร่างกายแสดงออกมา.  ด้านสภาพจิตใจ หากเกิดความเครียด ความกลัว เราควรกล้าที่จะเผชิญกับปัญหา รึปรึกษาคนใกล้ชิดเพื่อขอความช่วยเหลือ จัดเวลาทำกิจกรรมที่ผ่อนคลายมากขึ้น.  ส่วนอาการที่สงสัยว่ามีโรคอื่นซุกซ่อนอยู่ ควรให้แพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม ว่าเกิดจากทางด้านร่างกาย , จิตใจ หรือ ทั้ง 2 อย่างรวมกันค่ะ

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์? รู้สึกจิตตกจนถึงขั้นคิดอยากทำร้ายตัวเอง/ฆ่าตัวตาย อาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น หายใจหอบเหนื่อย , เจ็บหน้าอก , อาเจียนเป็นเลือด , หัวใจเต้นผิดจังหวะ , ปวดท้อง  ปวดหลัง  ปวดเชิงกราน หรือ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ก็เป็นสัญญาณที่จะต้องรีบหาวิธีดูแลรักษาตนเองโดยด่วน!

สิ่งสำคัญจึงเป็นการที่ตัวผู้ป่วยเองและคนใกล้ชิด ต้องช่วยกันสังเกตอาการของความผิดปกติที่เกิดขึ้น ทั้งจากการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้อง บ่งบอกถึงโรคที่ซ่อนอยู่ เพื่อสุขภาพโดยรวมของเราและคนที่เรารักในระยะยาวนะคะ

ภาพถ่ายโดย Ron Lach จาก Pexels