ฮอร์โมนไม่ได้สำคัญแค่กับวัยว้าวุ่น!!

ฮอร์โมน  เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่จำเป็นซึ่งร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อสื่อสารและทำหน้าที่ร่วมกับอวัยวะอื่นๆเพื่อให้ร่างกายสามารถทำงานได้อย่างปกติ  และฮอร์โมนส่งผลให้เรามี ความสุขและความเครียดได้อย่างไร ? ในบทความนี้มีรายละเอียดมาฝากกันค่ะ อ่านไปพร้อม ๆกันเลยนะคะ 

ฮอร์โมนที่ทำให้มีความสุข

ฮอร์โมนที่ทำให้คนเรามีความสุข จะมีอยู่ด้วยกัน 3 อย่างค่ะ 

เอ็นโดรฟิน : เป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากใต้สมอง มันเปรียบเหมือนมอร์ฟีนธรรมชาติที่อยู่ในร่างกายของเรามันจะหลั่งออกมาตอนที่เรามีความสุขและก็รู้สึกผ่อนคลายค่ะ

ไดพามีน : เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ ถ้ามีน้อยเกินไปจะทำให้เรารู้สึกหดหู่และซึมเศร้าได้ แต่สามารถเพิ่มได้ด้วยการออกกำลังกาย ฟังเพลง  กินโปรตีนเพิ่ม นอนหลับให้เพียงพอ   

เซโรโทนิน : มีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ อารมณ์ ควบคุมความอยาก และเบื่ออาหาร และการนอนหลับ ถ้าฮอร์โมนตัวนี้ต่ำเกินไปก็จะทำให้เราหงุดหงิด นอนไม่หลับ แต่คุณเพิ่มได้โดยกินอาหารที่มีทริปโตเฟน เช่น เนื้อ นม ไข่ 

ฮอร์โมนที่ทำให้เครียด

ฮอร์โมนที่ส่งผลทำให้เราเครียดมีด้วยกัน 2 อย่าง คอร์ติซอล  และ อะดรีนาลีน  เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมหมวกไตที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้เอง เมื่อเครียดหรือโกรธ วิตกกังวล อะดรีนาลีน จะหลั่งออกมามากกว่าปกติ ทำให้กล้ามเนื้อหลอดเลือดหัวใจทำงานอย่างเต็มที่ หัวใจบีบตัวมากขึ้นอัตราการเต้นหัวใจก็สูงขึ้นด้วย

ฮอร์โมนเพศ 

ฮอร์โมนเพศ มีด้วยกันอยู่ 3 ตัว

เทสโทสเตอโรน : เป็นฮอร์โมนเพศชายที่หลั่งออกมาจากอัณฑะซึ่งทำ เด็กผู้ชายกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีร่างกายสมบูรณ์เต็มที่  

เอสโตรเจน : เป็นฮอร์โมนเพศหญิงผลิตจากรังไข่ทำให้ร่างกายเติบโตมีความเป็นผู้หญิงมากขึ้น ถ้าลดลงทำให้กระดูกเปราะบาง มวลกระดูกและกล้ามเนื้อไม่ค่อยแข็งแรง

โปรเจสเตอโรน : เป็นฮอร์โมนเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่จะหลั่งจากรังไข่และต่อมหมวกไต ซึ่งกระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว ในช่วงที่มีรอบเดือน เพื่อเตรียมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อนในการตั้งครรภ์ค่ะ 

เห็นมั้ยคะว่าฮอร์โมนส่งผลกับเราทุกคน ถ้าเราอยากมีความสุขต้องกระตุ้นให้สมองหลั่งสาร อินโดรฟินเยอะ ๆนะคะ

อ้างอิง

Photo by Alexa Suter on Unsplash