อย่ามองข้าม กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง อันตรายกว่าที่คิด

อาการของโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ทำให้บางคนเข้าใจผิด และว่าเป็นเพราะใช้สายตามากเกินไป เมื่อได้พักสายตาก็จะดีขึ้น จริงๆแล้วมันอันตรายกว่าที่คิดนะคะ คุณรู้มั้ยคะว่า สาเหตุมาจากอะไร ? อาการ และวิธีป้องกันทำอย่างไร ? เราไปดูข้อมูลพร้อมๆกันเลยดีมั้ยคะ ?

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงคืออะไร และสาเหตุ 

โรคกกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง  ในทางการแพทย์ เรียกว่า โรค MG เป็นภาวะที่เปลือกตาหรือกล้ามเนื้อยึดลูกตาอ่อนแรงหลังจากใช้งานไประยะหนึ่ง 

สาเหตุ : เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่บริเวณรอยต่อระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อลายทำให้การนำกระแสประสาทลดลงทำให้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง , เป็นมาตั้งแต่กำเนิด , เกิดจากการระคายเคืองต่อกล้ามเนื้อตาเป็นเวลานานๆ , การผ่าตัดตาสองชั้นโดยไม่ได้ระวังต่อกล้ามเนื้อตา 

ส่วนใหญ่จะพบในผู้หญิงวัยช่วงอายุ 20-40ปี และชายอายุ 50 ปีขึ้นไปค่ะ และมักพบในคนที่เป็นโรคไทรอยด์มากถึง 10-15 % ใครที่เป็นโรคไทรอยด์ให้คอยสังเกตความผิดปกติของตาให้ดีๆนะคะ 

อาการ

อาการที่สังเกตได้คือ หนังตาตก ลืมตาไม่ขึ้น ตาปรือ ลืมตาลำบากโฟกัสภาพไม่ได้ เกิดภาพซ้อน จะเห็นภาพ 2 ภาพเหลื่อมกัน หรือเห็นภาพแยกออกจากกัน  เพราะแนวการมองของดวงตาทั้งสองข้างไม่ได้มองไปในตำแหน่งเดียวกัน แต่ถ้าปิดตาข้างหนึ่งภาพซ้อนจะหายไป  ลักษณะของโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง อาการจะไม่คงที่ค่ะ เป็นๆหายๆ พอได้พักผ่อนเต็มที่ อาการจะขึ้น แต่พอใช้งานไปสักพัก อาการก็แย่ลง แบบว่าเช้าดี ..บ่ายแย่ค่ะ 

วิธีป้องกันและรักษา

วิธีรักษาโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากหลายสาเหตุ เพื่อเป็นการลดอาการและถนอนสายตา เราไม่ควรจ้องอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ แท็บเลต และโทรศัพท์มือถือติดต่อกันนานเกินไป พักสายตาด้วยกำารหลัยตา กระพริบตา มองไปที่มีต้นไม้สรเขียวประมาณ 10 นาทีทุก 1 ชั่วโมง หรือหยอดน้ำตาเทียมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับดวงตา และพักผ่อนให้เพียงพอค่ะ 

สำหรับคนที่มีอาการหนังตา รักษาด้วยการผ่าตัดโดยการเย็บตรึงกล้ามเนื้อตาช่วยได้ แต่ต้องผ่าตัดกับจักษุแพทย์ที่เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์เท่านั้นนะคะ สำหรับคนไข้ที่เป็นโรค MG ก็สามารถรักษาโดยการใช้ยาโดยไม่ต้องผ่าตัดก็ได้ค่ะ

สรุป กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเป็นปัญหาอย่างหนึ่งของสายตาที่ส่งผลกระทบต่อการทำงาน ทำให้เสียบุคลิกค่ะ เมื่อรู้สึกมีอาการผิดปกติของสายตาอย่าคิดว่าเป็นเพราะการใช้สายตามากเกินไปนะคะ ควรไปพบจุกษุแพทย์เพื่อเช็คอาการ และทำการรักษาต่อไปค่ะ

Photo by Roozbeh Badizadegan on Unsplash