โยเกิร์ต นอกจากจะมีโปรตีนสูงกว่านมถึง 20 % และเป็นแหล่งของแคลเซี่ยมชั้นดีแล้ว โยเกิร์ตยังทำให้คุณมีสุขภาพดี และผิวสวยได้ด้วย โยเกิร์ตคืออะไร ? กินตอนไหนดีต่อร่างกายมากที่สุด ? ในบทความนี้มีคำตอบให้ค่ะ
โยเกิร์ตคืออะไร มีกี่ประเภท ?
โยเกิร์ต เป็นผลิตภัณฑ์หมักนมที่ได้มาจาก วัว แกะ หรือแพะแล้วเติมจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายลงไปเพื่อให้เกิดกรดแลคติก ซึ่งทำให้นมเป็นโยเกิร์ต มีรสเปรี้ยว โยเกิร์ตที่ขายในท้องตลาดมีด้วยกัน 5 ประเภทค่ะ
- โยเกิร์ตแท้: เป็นเนื้อครีมกึ่งเหลว เปรี้ยว ทำจากนมไขมันต่ำ ไม่มีน้ำตาล
- กรีกโยเกิร์ต: เนื้อโยเกิร์ตจะแข็งกว่าโยเกิร์ตแท้ มีโปรตีนสูงกว่าโยเกิร์ตปกติ 2เท่า
- โยเกิร์ตชนิดดื่ม: เป็นโยเกิร์ตที่เติมน้ำ และน้ำตาลลงไปมีรสชาติหวาน
- โปรไบโอติกโยเกิร์ต: เป็นโยเกิร์ตที่เติมจุลินทรีย์เข้าไป
- โยเกิร์ตที่ไม่ได้มาจากนม : เป็นโยเกิร์ตที่ทำมาจากถั่วเหลือง น้ำนมข้าว กะทิ เป็นโยเกิร์ตของคนที่เป็นมังสาวิรัติค่ะ
ประโยชน์เกินบรรยาย
โยเกิร์ตมีโปรตีนมากกว่านมถึง 20 % มีวิตามิน B , D และแคลเซี่ยม มีโพรไบโอติกช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยปรับสมดุลของทางเดินอาหาร ระบบขับถ่าย กระตุ้นระบบย่อยอาหาร ระบบลำใส้ ทำให้ท้องไม่ผูก แก้อาการท้องเสีย ลดคอเลสเตอรอล ป้องกันการเกิดความดันโลหิตสูง บรรเทาอาการเชื้อราในช่องคลอด เหมาะกับคนที่แพ้แลคโตส ช่วยควบคุมน้ำหนัก เพราะแคลลอรี่ต่ำ มีโปรตีนสูงทำให้อิ่มท้อง แต่ต้องเป็นโยเกิร์ตที่ไม่มีน้ำตาล และใส่ผลไม้ลงไปด้วยค่ะ
ถ้าใช้พอกหน้าช่วยทำให้ผิวชุ่มชื่น สว่างใส มีความยืดหยุ่น และช่วยฟื้นฟูผิวไหม้จากแสงแดดได้ด้วยค่ะ
กินโยเกิร์ตก่อนนอนดียังไง ?
ช่วยให้นอนหลับง่าย : ในโยเกิร์ตมีทริปโตเฟน กรดอะมีโนที่ช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเซโรโทมิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้รู็สึกผ่อนคลาย ทำให้หลับง่ายกว่าเดิม
ช่วยดีท็อกซ์ : การกินโยเกิร์ตตอนท้องว่างจุลินทรีย์ชนิดดี และโพรไบโอติกจะเข้าไปจัดระเบียบสิ่งเล็กๆในลำใส้ และกระเพาะอาหาร ตื่นเช้ามาเราจะขับถ่ายง่าย และคล่องขึ้น
ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ : ตอนที่เราหลับ ร่างกายจะมีกระบวนการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ฟื้นฟูส่วนที่สึกหรอ การกินโยเกิร์ตก่อนนอนทำให้ร่างกายดึงเอาโปรตีนไปสร้างกล้ามเนื้อส่วนที่เสียหาย และช่วยป้องกันการสูญเสียกล้ามเนื้อได้โดยเฉพาะคนที่ออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อหนักๆค่ะ โยเกิร์ตมีประโยชน์ซะขนาดนี้ไม่กินไม่ได้แล้วนะคะ
ภาพโดย Aline Ponce จาก Pixabay