สรุป ‘Home Isolation’ วิธีกักตัวที่บ้าน!

ผู้ป่วยสีเขียว (ตรวจพบเชื้อ/มีอาการเล็กน้อย) , ผู้ป่วยที่รักษาใน รพ. 7-10 วัน จนมีอาการดีขึ้น , คนใกล้ชิดผู้ป่วย COVID-19 ยังต้องทำการกักตัวเป็นเวลา 14 วัน เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ ร่างกายได้พักฟื้นอย่างรวดเร็วเพราะอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่คุ้นเคย แถมยังลดภาระของแพทย์/พยาบาลในการดูแลผู้ที่มีความจำเป็นมากกว่า  

Home isolation’ หรือ “คู่มือการแยกกักตัวที่บ้าน” จาก สสส. จึงรวบรวมข้อมูลสำคัญๆ จากคุณหมอ เพื่อเปิดทางเลือกของเรามากขึ้น สรุปสาระสำคัญมาไว้แล้ว!

สิ่งที่ต้องทำ!

  • ใช้ชุดตรวจโควิด หรือ Antigen Test Kit ด้วยตนเองแบบ Home Use ที่มี 2 วิธี คือ การ Swab ผ่านโพรงจมูก ลึก 2.5 ซม.  หรือ การตรวจด้วยน้ำลาย 
  • หากมีผลเป็นบวก ต้องทำการแยกกักตัว และติดต่อสายด่วน 1330 /ทำการลงทะเบียนเข้าระบบ* (หากผลเป็นลบสามารถทำการตรวจซ้ำได้) และ ทิ้งชุดตรวจที่ใช้แล้วโดยแยกต่างหาก
  • รอเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ เพื่อให้แพทย์ประเมินเข้ารับการรักษาใน รพ. หรือ เริ่มต้นกักตัวที่บ้าน

อุปกรณ์ที่ต้องมี : หน้ากากอนามัย , แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรค , ถุงสำหรับแยกขยะที่ติดเชื้อ , ปรอทวัดไข้แบบดิจิทัล (เกิน 37.5องศา ควรติดตามอาการใกล้ชิด) , เครื่องวัดอ็อกซิเจนปลายนิ้ว(ควรวัดได้ 96-100%) , เจลล้างมือ , ทิชชู่เปียก/แห้ง , น้ำยาฟอกขาวสำหรับทำความสะอาด และ ยารักษาโรคที่ทานประจำ 

*ลงทะเบียน เพื่อติดตามอาการจากบุคคลากรทางการแพทย์ และสามารถกลับมารักษาที่ รพ.ได้หากมีอาการแย่ลง

ข้อปฎิบัติ

ตัวผู้ป่วย : แยกจากคนในครอบครัวโดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุ สวมหน้ากากเมื่อพบเจอผู้คน-ไอ/จาม , ล้างมือแบบถูกวิธี , ไม่ทานข้าวร่วมกัน , แยกของใช้ส่วนตัว , ฆ่าเชื้อในจุดที่มีการสัมผัส เช่น ลูกบิดประตู สวิตซ์ไฟ และห้องน้ำ โดยอาจใช้เป็นคนสุดท้ายหรือทำความสะอาดด้วยน้ำยาฟอกผ้าขาว , ดื่มน้ำและพักผ่อนอย่างเพียงพอ , ให้มีลมระบายเข้า-ออกห้อง เพื่อลดการสะสมเชื้อ

ผู้ดูแลผู้ป่วย : สวมใส่หน้ากากตลอดเวลาเมื่ออยู่ใกล้-นำอาหารไปให้ผู้ป่วย , ระวังการสัมผัสหน้ากากที่สวนด้านหน้า / ทิ้งหน้ากากนั้นในถุงขยะติดเชื้อ , สวมถุงมือเมื่อมีการสัมผัส และ ล้างมืออย่างถูกวิธี 

เมื่อไหร่ต้องรีบพบแพทย์ / สิ้นสุดการกักตัว

เมื่อผู้ป่วยมีอาการปกติผิดปกติ โดยไข้สูงกว่า 35.8 องศา , ท้องเสียหรืออาเจียนหนัก , หายใจติดขัด , ไอมากขึ้นหรือแน่นหน้าอก , มีอาการไม่ตอบสนอง , วัดค่าออกซิเจนได้ต่ำกว่า 96% ให้รีบติดต่อแพทย์ หรือ โทรสอบถามโรงพยาบาลที่ได้ลงทะเบียนในระบบ. สำหรับการประเมินเมื่อสิ้นสุดการแยกกักตัวที่บ้านจะต้องเป็นไปตามความเห็นของแพทย์ผู้ดูแลค่ะ

สิ่งที่สำคัญ คือ เมื่อทราบว่ามีความเสี่ยงจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมและบุคคลคนรอบข้าง โดยทำการแยกกักตัวตามวิธีที่ได้แนะนำเพื่อปฏิบัติตนทั้งผู้ป่วยสีเขียว/ญาติใกล้ชิด และ สิ่งที่บุคคลทั่วไปทำได้เพื่อความปลอดภัยนะคะ 🙂

ภาภาพถ่ายโดย Liza Summer จาก Pexels