การทำงานแบบ work from home ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ที่เราต้องปรับตัวกันอย่างมากในยุควิกฤติโรคระบาด ทั้งนายจ้างและลูกน้องเองก็ต้องปรับตัวกันให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการปรับตัวให้ชินกับเทคโนโลยี และปรับตัวให้ได้กับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เพื่อให้การทำงานออกมามีประสิทธิภาพ แต่บางครั้งก็อาจจะไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด เพราะนายจ้างอย่างเราอาจจะต้องเจอกับปัญหาของลูกน้อง 5 ประเภท ที่อาจจะทำให้งานของเราเดินหน้าต่อไปไม่ได้ ไปดูกันค่ะว่ามีอะไรบ้างและจะมีวิธีรับมือกันยังไง
พนักงานล่องหน
ดูเหมือนจะเข้ามาทำงาน แต่ตอบช้าและบางครั้งแทบติดต่อไม่ได้ปัญหาของคนประเภทนี้ คือ ชอบที่จะทำงานเหมือนตกอยู่ในภวังค์ ไม่สนใจใคร ขาดการสื่อสารกับคนอื่น แค่ขึ้นว่าได้ออนไลน์แล้วเท่านั้นพอ
วิธีแก้ปัญหาสำหรับคนประเภทนี้ คือ พยายามพูดคุยงานบ่อยๆ และกำหนดการประชุมทุกวัน เพื่อตรวจสอบความคืบหน้าของงานเป็นระยะๆ
พนักงานที่ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง
ทำงานตลอดเวลายิ่งกว่าร้านสะดวกซื้อปัญหาของคนประเภทนี้ คือ มักจะออนไลน์ตลอดเวลา ขยันมาก ทำงานตัวเป็นเกลียวโดยไม่หยุดพัก จนเกิดอาการ Burnout (ภาวะเหนื่อยล้าจนหมดไฟ)
วิธีแก้ปัญหาสำหรับคนประเภทนี้ คือ ชมเชยเรื่องการทำงาน แต่ต้องพยายามปรับแนวคิดเรื่องการทำงานให้ได้คุณภาพไม่ใช่แค่ได้ปริมาณ และกำหนดเวลาการทำงานอย่างชัดเจน
พนักงานที่สมาธิหลุดบ่อย
อดทนกับสิ่งเร้าที่เข้ามาไม่ได้ ทำให้สติหลุดบ่อยๆ ปัญหาของคนประเภทนี้ คือ ปรับตัวได้ช้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ๆ และขาดระเบียบวินัย โดยให้สภาพแวดล้อมภายนอกและโลกของ social media เข้ามามีอิทธิพล (เช่น ช้อปปิ้งออนไลน์ช่วงเวลางาน, ดูซีรีย์ไปด้วยทำงานไปด้วย) ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
วิธีแก้ปัญหาสำหรับคนประเภทนี้ คือ อาจจะต้องบอกให้คนประเภทนี้จัดห้องให้เหมือนห้องทำงาน จัดตารางเวลา การประชุมและกิจกรรมให้ชัดเจน จับคู่ให้ทำงานกับอีกคนเพื่อที่จะมีที่ปรึกษาได้
พนักงานที่ชอบป่วนทำให้คนอื่นเสียสมาธิ
พูดมากเกินไปปัญหาของคนประเภทนี้ คือ พูดมากเกินไปจนทำให้คนอื่นๆเสียสมาธิในการทำงาน และพูดคุยในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับงานทำงานให้คนอื่นรู้สึกอึดอัดและรำคาญ
วิธีแก้ปัญหาสำหรับคนประเภทนี้ คือ สร้างห้องแชทไว้อีกห้องนึงเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องทั่วๆไป และปิดเสียงเพื่อไม่ให้รบกวนคนอื่นๆ
พนักงานที่ไร้อารมณ์
หมดไฟกับการทำงานปัญหาของคนประเภทนี้ คือ ไม่มีการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ไม่มีแรงบันดาลใจในการทำงาน ไม่มีเป้าหมายในการทำงาน เนื่องจากความเครียดสะสม
วิธีแก้ปัญหาสำหรับคนประเภทนี้ คือ ต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนทั้งระยะสั้นและยาว ปรับทัศนคติในเรื่องการทำงานร่วมกับผู้อื่น และให้กำลังใจ
รู้แบบนี้แล้วก็ลองเอาวิธีเหล่านี้ไปใช้กันดูนะคะ แรกๆอาจจะยังไม่ชิน แต่เดี๋ยวพอนานไปก็จะปรับตัวกันได้แน่นอนค่ะ …..
ภาพโดย Free-Photos จาก Pixabay