ลูกซนมาก สมาธิสั้น ดูแลเค้ายังไงดี?!

ลูกของเราจะซนเกินไปรึป่าว?!  หรือ มีสมาธิสั้น ที่อาจเกิดปัญหาเรื่องการเข้าสังคมในวันข้างหน้า ลองมาเช็คพฤติกรรมของเด็กๆ และหาวิธีที่พ่อแม่-ผู้ปกครอง จะสามารถดูแลเค้าได้ดีขึ้นตามช่วงวัย

โรคซน / สมาธิสั้น หรือ ADHD

พฤติกรรมที่เกิดขึ้น คือ ชอบเล่นแรงๆ อยู่นิ่งไม่ได้ , ไม่ค่อยมีสมาธิในการเล่นสิ่งของชิ้นเดียว เปลี่ยนความสนใจง่ายขณะเล่นอยู่/เรียนหนังสือ ไปจนถึงอารมณ์ที่หุนหันพลันแล่น อยากได้อะไรต้องได้ หรือ ไม่รู้จักการรอคอย. ยิ่งหากถึงวัยเรียนแล้วยังไม่สามารถนั่งเรียนได้นานขึ้น มีความยับยั้งชั่งใจเท่าๆกับวัยเดียวกัน ก็จะกลายเป็นปัญหาในการอยู่ร่วมกับเด็กคนอื่นๆ อาจเกิดอุบัติเหตุ-บาดเจ็บจากการเล่นซน เช่น กระดูกหัก , ต้องเย็บแผล หรือ หยิบจับสิ่งที่เป็นอันตราย. แต่พัฒนาการของสมองในส่วนของการควบคุมนี้จะดีขึ้นเรื่อยๆตามวัยค่ะ

สิ่งที่พ่อ-แม่ / ผู้ปกครอง สามารถทำได้

  1. เด็กเล็กที่ชอบวิ่งเล่น-ปีนป่าย ต้องมีพื้นที่ให้เขาได้ทำกิจกรรมอย่างปลอดภัย โดยจัดเก็บสิ่งของที่อาจเป็นอันตราย. เด็กวัยเรียนที่จำเป็นต้องมีสมาธิมากขึ้น นั่งเรียนออนไลน์ หรือ ทำการบ้าน ต้องไม่ให้มีสิ่งมาเร้าใจให้วอกแวก หรือ กระตุ้นให้เสียสมาธิ เช่น ห้องเงียบๆ  หันหน้าเข้ามุม/กำแพง
  2. จัดเวลาทำกิจกรรมด้วยกันเพื่อสังเกตและให้ความสนใจ เช่น สิ่งที่เค้าชอบ หรือ ทำได้นานขึ้น ยิ่งมีพ่อแม่-ผู้ปกครองอยู่ด้วยก็ยิ่งจะรู้สึกจดจ่อ มีสมาธิ จึงต้องพยายามแก้ที่ต้นเหตุ หาอะไรให้เด็กที่อยู่นิ่งนานๆไม่ได้ทำ เช่น งานบ้านเล็กๆน้อยๆ
  3. อย่าใช้การตีเพื่อแก้ปัญหา  จะหยุดพฤติกรรมของเด็กได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น ยิ่งเค้าเคยชินเท่าไหร่จะยิ่งไม่ฟัง หรือ เลียนแบบความรุนแรงไปใช้เมื่อมีคนขัดใจ 
  4. ชมเชยในข้อดีของเค้าตามโอกาส เช่น ‘แม่ชอบที่หนูมาช่วยแม่ทำนี่นะ!’  หรือ ‘วันนี้หนูไม่ซนมาก พ่อชอบ’ เพื่อให้เค้าเกิดความพยายามในการค่อยๆเปลี่ยนพฤติกรรม ทำให้เด็กมีกำลังใจ หรือ รับฟังมากขึ้น

พฤติกรรมที่เบี่ยงเบนจากการเล่นซนตามปกติของเด็ก จะมีมากหรือน้อยยังขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค / สภาพแวดล้อม สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ทั้งผู้ที่มีอาการของสมาธิสั้น  หรือ ไม่เป็น ก็จะค่อยๆมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาลดลง เพราะสมองในส่วนของการควบคุมตนเองมีพัฒนาการที่ดีขึ้นมาวัย 🙂

Photo by Leo Rivas on Unsplash