รู้ทัน! โรคคิดไปเองว่าป่วย (Hypochondriasis)

คณะแพทย์โรงบาลรามาธิบดีเคยทำบทความถึงโรคที่คนไข้ไปหาหมอเป็นสิบๆครั้ง ก็ยังไม่ยอมรับคำวินิจฉัยสักที นั่นคือ ‘โรคคิดไปเองว่าป่วย’ หรือ Hypochondriasis

หมอบอกว่าไม่ป่วย.. ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งจริงๆ ที่คิดไปเองอยู่ตลอดเวลาว่าร่างกายป่วยด้วยโรคนั้นโรคนี้ สุดท้ายก็ส่งกระทบต่อจิตใจและการใช้ชีวิตประจำวันไปไม่น้อย 

โรคคิดไปเอง หรือ ไฮโปคอนดริเอซิส 

โรคกลุ่มจิตเวชชนิดหนึ่ง ที่ผู้ป่วยจะไปหาหมอซ้ำๆ เพราะมีความกังวลจนถึงขั้นหมกมุ่นเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของตน ตัวอย่างเช่น จากอาการปวดท้องธรรมดา ก็คิดกังวลว่าเสี่ยงเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรง หรือ บางรายอาจจะไม่มีอาการเลย แต่กังวลว่าตนจะได้รับเชื้อมาจากแหล่งต่างๆ และความกังวลนั้นก็ไม่หายไปสักที 

โรคนี้พบได้ในทุกช่วงวัย แต่พบมากในกลุ่มคนอายุ 20-30 ปี เพราะความตึงเครียดในเรื่องร้ายๆ หรือ การสูญเสียคนใกล้ตัวไปจากโรคของผู้สูงอายุ เราจึงสามารถสังเกตตัวเองว่าเข้าข่ายหรือไม่  โดยดูจากจำนวนครั้งที่ไปพบแพทย์  คนสุขภาพปกติมักเชื่อคำวินิจฉัยของแพทย์ในครั้งแรกหรือไม่ก็ทำการตรวจซ้ำ แต่หากมีการพบแพทย์ซ้ำเกินกว่าสองครั้งขึ้นไป อาจเป็นสัญญาณได้ถึงโรค Hypochondriasis ได้

การรักษาและวิธีการเอาชนะ!

คนไข้ในจะต้องทำการตรวจหาอาการของโรคร้ายแรงที่กังวลจริงๆก่อน จากนั้นค่อยทำการตรวจรักษาทางใจร่วมด้วย เช่น ภาวะโรคเครียด หรือ ซึมเศร้า รวมถึงโรคจิตเภทอื่น ๆ ที่รักษาโดยการใช้ยา แพทย์ก็จะทำการดูแลเป็นเคสๆไป  อธิบายให้คนไข้เข้าใจถึงอาการที่ไม่ได้รุนแรง , ปรับเปลี่ยนความคิดหรือมุมมอง(จิตบำบัด)หรือ ให้ยาคลายความกังวล

เราสามารถเผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัวได้ ทำกิจกรรมที่จะช่วยลดความเครียด เช่น ออกกำลังกายให้ร่างกายสดชื่นกระปรี้กระเปร่า , ปลูกต้นไม้  เป็นงานอดิเรก ,  อ่านหนังสือเพื่อเพิ่มความรู้ , ออกไปท่องเที่ยวเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ หรือ ทำกิจกรรมดีๆร่วมกันกับครอบครัว ทุกโรคภัยยิ่งจะทุเลาเบาบางลงได้! 

การรักษาจะทำได้ยาก.. ถ้าคนไข้ไม่ยอมรับว่าตัวเองกำลังเผชิญกับโรค ถึงขั้นหาข้อมูลอาการป่วยของตนจากอินเทอร์เน็ต แย้งการรักษาของแพทย์. ความเจ็บป่วยไม่ใช่เรื่องน่าอาย เราจึงอยากจะให้กำลังใจและรับฟังคนในครอบครัวมากขึ้น เพื่อจะช่วยป้องกันไม่ให้มีอาการเจ็บป่วยด้านสภาวะทางจิตใจค่ะ!

Photo by Sammy Williams on Unsplash