หลายคนอาจสงสัยกันอยู่ว่า เอ..เราจะเริ่มมีอาการนิ้วล็อกแล้วรึป่าวนร้า?! โดย “โรคนิ้วล็อก” (trigger finger) เริ่มได้ตั้งแต่รู้สึกปวดๆตรงโคนนิ้ว จะเหยียดจะงอนิ้วก็ติดๆขัดๆ จนถึงขั้นมีเสียงดัง ‘กลิ๊ก’ เวลาขยับ!! ลองมาดูสาเหตุ/อาการ เพื่อรู้เท่าทันในการรักษา/ป้องกันสิค่ะ
สาเหตุ/อาการ
ใช้งานมือ+นิ้วมือมากๆ เป็นเวลานาน จะเกิดอาการอักเสบที่ปลอกหุ้มเอ็นตรงบริเวณโคนนิ้วได้ พบบ่อยในกลุ่มพนักงานออฟฟิศ , แม่บ้าน , ช่างตัดเสื้อผ้า-ทำผม ไปจนถึงสายกีฬาที่อาจต้องจับต้องกำอุปกรณ์แบบแน่นๆ และล่าสุด คือ รวมกลุ่มคนที่ชื่นชอบการเล่นมือถือ/แท็บแล็ต/คอมพิวเตอร์เข้าไปซะแล้ว
โดยอาการจะแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ
ระยะแรก : ปวดๆ บริเวณโคนนิ้ว แต่ยังเคลื่อนไหวได้ดี
ระยะที่สอง : เริ่มรู้สึกสะดุดเวลาจะขยับ-เหยียด-งอนิ้ว หรือปวดมาก แต่ยังพอขยับได้อยู่
ระยะที่สาม : นิ้วล็อกจนไม่สามารถเหยียดออกเองได้ ต้องใช้นิ้วอื่น/มืออีกข้างช่วย
ระยะที่สี่ : มีอาการเจ็บปวดที่รุนแรง นิ้วติดจนขยับ/งอไม่ได้แล้ว
ขั้นตอนรักษา
ระยะที่ 1 , 2 แพทย์จะวินิจฉัยรักษาโดยให้ทานยาแก้ปวด พักการใช้งานนิ้วนั้น หรือ สั่งอุปกรณ์ดามนิ้่วเพื่อช่วยเหลือ รวมถึงเวชศาสตร์การฟื้นฟู เช่น แช่น้ำอุ่นและขยับเบา ๆ 10-20 นาที , ใช้เครื่องเลเซอร์/คลื่นกระแทกเพื่อลดอาการอักเสบและปวด. ระยะที่ 3 , 4 จะมีการฉีดสเตียรอยด์เฉพาะแห่ง หรือ ผ่าตัดปลอกปลอกหุ้มเอ็นที่หนาตัวให้เปิดขยาย จนเส้นเอ็นสามารถขยับได้คล่องขึ้น
วิธีป้องกัน
ห่างไกลจากโรคนิ้วล็อก.. เราจะต้องรู้ตัวก่อนเพื่อพักยืดเส้นยืดสายในระหว่างทำงาน แถมยังลดอาการบาดเจ็บอื่นอย่างออฟฟิศซินโดรม , ปวดคอ-บ่า-ไหล่ด้วย. พยายามจะไม่หิ้วของหนักมากเกินไป , หักนิ้วเล่น และใช้เครื่องซักผ้าแทนการซักมือบ้างนะคะ หากเริ่มมีอาการปวดๆแล้วต้องไม่ดัดนิ้วเอง แต่เเช่มือในน้ำอุ่น บริหารนิ้วมือเบาๆ ร่วมด้วย
อ่านดูแล้ว.. เริ่มมีอาการ หรือ ยังไม่ค่อยแน่ใจ สามารถไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาได้ โดยวิธีการรักษาของแต่ละบุคคลจะไปไปตามอาการและความรุนแรงของโรค แพทย์เฉพาะทางจึงจะให้คำปรึกษาได้ดีที่สุด เพื่อให้ผู้ป่วยได้ตัดสินใจในเรื่องของข้อดี-ข้อเสียในการรักษาค่ะ
Photo by Alice Etelea on Unsplash