เจอหน้าใครๆ ก็บ่นเป็นเสียงเดียวกัน ว่า “ร๊อน.. ร้อน!!” ผ่าย เม.ย. มาก็แล้ว บ้านเราคงต้องทำใจนั่นแหละกับอากาศร้อนๆ ที่คงจะแวะเวียนมาเยี่ยมบ่อยๆ ความเห็นของนักจิตวิทยาจะว่ายังไงบ้าง มีข้อแนะเตือนอะไรเพื่อเผชิญหน้ากับช่วงอากาศร้อนแบบไม่เครียดเกิน มาส่องสักหน่อยสิ!
ความเครียด vs ความร้อน
เรื่องเครียดๆ มีอยู่เต็มสังคมไปหมด บวกกับช่วงวันร้อนๆแล้ว คนเรามีมีปัญหาในเรื่องความอดทนต่ำขึ้น หงุดหงิดง่ายขึ้น และโอกาสที่ใช้ความรุนแรงทั้งคำพูดและการกระทำมากขึ้นด้วย เพื่อจะเลี่ยงปัญหานี้ อย่างนึงที่ทำได้ คือ เข้าใจเค้า – เข้าใจเรา เรารู้ว่เราอาจจะ ‘หัวร้อน.. เมื่อร้อนๆ’ จึงอยากช่วยกัน “ลดอุณหภูมิด้านจิตใจ” กินให้อิ่ม นอนให้หลับ หย่อนใจบ้าง พักสมองจากเรื่องแย่ๆ เช่น ปลูกต้นไม้ , ดูหนัง , ฟังเพลง , เล่นกีฬา – การออกกำลังกาย จะเพิ่มสมาธิ ตั้งสติได้เมื่อมีเรื่องอะไรมาปะทะ ยับยั้งอานได้ หากเราลองเป็นสิ่งแวดล้อมเย็นๆ ให้กับคนอื่นๆ โอกาสที่จะมีเรื่องเดือนร้อนจะน้อยลงตามไปด้วย
ร้อนๆ ยังต้องระวังอะไรอีก?
สุรา ยาเมา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกขนาน.. ยิ่งดื่มมากตอนช่วงหน้าร้อนอาจยิ่งอันตรายต่อเรา กลายเป็น ‘น้ำเปลี่ยนนิสัย’ ได้ง่ายๆ เพราะความเมา อาจทำให้คนเราขาดสติ – ทำสิ่งไม่ถูก ไม่ควร ไม่เหมาะ ไม่ดื่มยังร้อนรุ่มขนาดนี้ ต้องใช้อย่างมีสติและระมัดระวังมากขึ้นค่ะ นอกจากนี้ หน้าร้อนยังเสี่ยงโรคภัยไข้เจ็บเยอะ เช่น ท้องเสีย โรคลมแดด เวียนหัว หน้ามืด จึงไม่ควรปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำเด็ดขาด ออกกำลังกายต้องพกเกลือแร่ เติมเข้าไปหน่อยดีกว่าขาด ก่อนเกิดอาการรุนแรงร้ายแรงคอนช่วงร้อนๆ ค่ะ
Summer แผดเผากาย ยังแผดเผาใจได้ด้วยหรือ? ได้สิ! ก็อาการหัวร้อนที่พูดติดปาก (ติดสนุก!) อาจเกิดขึ้นได้บ่อยและถี่กว่าเดิม เมื่อร่างกายเผชิญอุณหภูมิที่สูงๆ ไปไหนมาไหนพกน้ำเพิ่มความเย็น งั้นต้องพกสติให้มากกว่านี้ เมื่อเผชิญหน้ากับเรื่องแย่ๆ ตอนร้อนๆ ล่ะ!
Photo by Anna Demianenko on Unsplash