รู้มั้ย? อาการอย่างนึงที่อาจเกิดขึ้นได้ในการเล่นกีฬา คือ ‘ความรู้สึกกดดัน-ท้อถอย’ ที่มาพร้อมกับที่การฝึกฝนในทักษะใหม่ ๆ หรือ ไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
ไม่อยากเกิดอาการแบบนี้ทับถมขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะกับเด็ก ๆ ที่พ่อแม่-ผู้ปกครองสนับสนุนเค้าให้เล่นกีฬาบางชนิด รึตามความชอบก็ตาม ดูวิธีรับมือกันค่ะ
เกิดขึ้นเพราะ..
เล่นกีฬามากเกินไป ถูกจำกัดเฉพาะเจาะจงเร็วเกินไป รวมทั้งการฝึกซ้อมที่มากเกินไป จนไม่มีเวลาไปทำกิจกรรมอย่างอื่น ทั้งไม่ได้รับคำชมเชย/แนะนำในแง่บวกจากผู้ฝึกสอนหรือผู้ปกครอง คนที่ค่อนข้างรู้สึกกังวล เชื่อมั่นในตัวเองต่ำ หรือ ชอบความสมบูรณ์แบบ ก็มีแนวโน้มที่จะเกิดความรู้สึกนี้ได้
มองว่าทักษะด้านกีฬาของตนไม่ดีขึ้นเลย รู้สึกกระสับกระส่ายในระหว่างฝึกซ้อม ไม่เข้าร่วมการฝึกซ้อม คือ สัญญาณของความต้องการการช่วยเหลือ นอกจากนี้ ยังสังเกตได้จากอารมณ์ที่หงุดหงิดง่าย อ่อนเพลียบ่อย เบื่ออาหาร หรือ ปวดตามร่างกายอย่างหนักเมื่อกลับถึงบ้าน
ก้าวข้ามผ่านปัญหา
ฉลาดที่สุด คือ ‘การหยุดพัก’ เพื่อมองหาวิธีทำต่อไปได้อย่างประสบความสำเร็จ เช่น ขอหยุดพักการซ้อม/การแข่งขันนัดพิเศษ , พูดคุยกับผู้ฝึกสอนโดยตรง เพื่อขอลดการซ้อม , พักยาวถอยจากการเล่นสักฤดูกาลหนึ่ง หรือ หาตัวผู้ฝึกสอน / ทีม ที่เหมาะกับตนมากขึ้น
อีกวิธี คือ มองไปที่การพัฒนาทักษะและเป้าหมายของตัวเอง มากกว่ามุ้งเน้นไปที่ชัยชนะเพียงเท่านั้น. พ่อแม่ต้องให้ลูกได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สอนเด็กๆให้รับฟังเสียงจากร่างกายของตัวเอง แม้จะทำได้ช้าลงหน่อย แต่ได้พักทั้งกายและใจก็ดีกว่า
หยุดความรู้สึก.. ก่อนที่จะเกิดขึ้น!
หลายคนยังใช้วิธี หาช่วงเวลาหยุดพักในระหว่างการแข่งขันนัดสำคัญ/ฤดูกาลแข่งขัน ถึงแม้จะไม่จำกัดการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แต่ลดกิจกรรมข้างนอกในวันที่ต้องฝึกซ้อม เพื่อสร้างสมดุลและความสุข. พ่อ-แม่บางคน ยังให้ลูกๆ ได้ให้เวลาลองฝึกทักษะอื่นๆ ไม่ผลักดันในกีฬาชนิดเดียว เพื่อเรียนรู้การใช้กล้ามเนื้อ-ทักษะที่ต่างกัน เช่น เล่นฟุตบอล กีฬาประเภททีม ที่ฝึกความแข็งแรงจากการวิ่ง กับทักษะว่ายน้ำซึ่งเป็นกีฬาประเภทเดี่ยวและใช้ความหนักที่น้อยกว่า
Blogนี้ไม่ใช่การวินิจฉัยโรค หรือ แทนการแนะนำของแพทย์ แต่อยากให้ผู้อ่านได้ประโยชน์มากที่สุดเพื่อกำจัด ‘ความเหนื่อยล้า’ จากเล่นกีฬา ‘หยุดพักเสียหน่อย’ เพื่อก้าวข้ามผ่านความรู้สึกนี้ แล้วค่อยกลับไปลุยใหม่สักตั้ง ถือเป็นเรื่องที่ดีค่ะ!
Photo by Dmitrii Vaccinium on Unsplash