ดนตรีบำบัดกับข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์

หลายคนมีประสบการณ์ในการ “ใช้เพลงเพื่อเยียวยารักษาแผลใจ” บางคนถึงกับฟังเพลงแล้วอินจนร้องไห้ตาบวมกันเลยทีเดียว แต่ตอนนี้เราจะมาคุยกันเรื่องดนตรีบำบัดค่ะ เคยมีการใช้ดนตรีเพื่อรักษาคนป่วยมาตั้งแต่สมัยโรมันแล้วนะ โดยที่เขาจะเอาเครื่องดนตรีคล้ายขลุ่ยขนาดใหญ่มากดแนบกับหน้าอกของผู้ป่วย…แต่ไม่รู้ว่าหายหรือเปล่านะ 55 เราจะไม่ใช้วิธีเดียวกันนี้หรอกค่ะ แต่เราจะใช้การฟังดนตรีเพื่อการผ่อนคลาย แล้วดนตรีแบบไหนที่จะผ่อนคลายได้ดีที่สุดล่ะคะ?

หลักการทางวิทยาศาสตร์

เพลง Mozart มักถูกมองว่าเป็นเพลงที่ช่วยให้ผ่อนคลายได้ดีที่สุดค่ะ เนื่องจากเพลงของ Mozart มีเสียงที่เรียกว่า α (alpha) wave ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ที่สมองเปล่งออกมาเมื่อมันผ่อนคลายมากที่สุดนั่นเอง…แล้วยังไงต่อ

นักวิทยาศาสตร์เขาบอกว่า electroencephalograms คือสัญญาณไฟฟ้าที่สมองของมนุษย์และสัตว์สร้างขึ้นจากคลื่น γ (แกมมา) ที่มีความถี่ 30 Hz หรือสูงกว่าถึง δ (เดลต้า) คลื่นที่มีความถี่ 0.5 ถึง 3 Hz  ซึ่งได้รับการยืนยันจากการทดลองและการวิจัยว่าคลื่น α ที่มีความถี่ 8 ถึง 13 เฮิร์ตซ์เป็นคลื่นสมองที่สร้างขึ้นเมื่อเราหลับตาหรือพักผ่อน อย่างไรก็ตามในทางวิทยาศาสตร์แล้ว คลื่นสมองเป็นเพียงหน่วยความถี่ที่แสดงว่าสมองทำงานอย่างไรเท่านั้นค่ะ แต่ก็มีการอ้างว่าเพลงที่ผ่อนคลายที่สุดในโลกคือ “zero gravity” ต้องลองไปหาฟังดูนะคะ

เพลงอื่นๆที่ทำให้ผ่อนคลายมากที่สุดในโลก

หลายคนสนใจอยากรู้ว่า เพลงที่ทำให้ผ่อนคลายมากที่สุดในโลกคือเพลงไหนกันแน่? มีข่าวออกมาว่าเพลง “ไร้น้ำหนัก (Weightless)” ที่แมนเชสเตอร์ มาร์โคนียูเนี่ยน ร่วมกับ สถาบันอะคูสติกบำบัดของอังกฤษ เป็นดนตรีที่ผสมผสานระหว่างกีตาร์และเปียโนไฟฟ้า ได้รับการยอมรับว่าเป็น “ดนตรีที่ผ่อนคลายที่สุดในโลก”นะคะ

เขาทำการทดลองกับผู้หญิง 40 คน โดยให้พวกเธอฟังเพลง “ไร้น้ำหนัก(Weightless)” และเพลงของ Enya ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Queen of Mozart and Healing ผลปรากฎออกมาว่าเพลง “ไร้น้ำหนัก(Weightless)” ได้รับการยอมรับว่าเป็นเพลงที่มีเอฟเฟกต์ผ่อนคลายมากที่สุด ในขณะที่ “เอฟเฟกต์การผ่อนคลายมีมากกว่า 11%” และ “อัตราการเต้นของหัวใจลดลงมากกว่า 35%” เมื่อเปรียบเทียบกับเพลงอื่นๆค่ะ

วิทยาศาสตร์ไขปริศนาได้ไหม? 

บางคนบอกว่าการฟังดนตรีเป็นเรื่องส่วนตัว วิทยาศาสตร์ไม่สามารถตอบปัญหานี้ได้ แค่การนั่งฟังเพลงเงียบๆชิลๆก็สามารถผ่อนคลายได้แล้วนะคะ 

แต่บางคนก็โต้แย้งว่าวิทยาศาสตร์สามารถหาคำตอบได้ เพราะมีการทดลองในปี 1993 เมื่อนักศึกษามหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเออร์ไวน์ ฟังเพลงของโมซาร์ททำให้ไอคิวพวกเขาพัฒนาขึ้นค่ะ

แต่ไม่ว่าจะเป็นยังไงก็ดูเหมือนว่าเรื่องนี้คงต้องใช้เวลาในการหาคำตอบความพยายามในการติดตามความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับจิตใจจะดำเนินต่อไปทางวิทยาศาสตร์ค่ะ

Photo by Eric Nopanen on Unsplash