หนึ่งในข่าวที่ร้ายแรงและน่าหดหู่ คือ ข่าวการทำร้ายเด็กๆที่น่ารักไม่ว่าจะเรื่องสภาพจิตใจ หรือ ทำร้ายเด็กทางเพศ ส่งเหล่านี้ย่อมก่อให้เกิดบาดแผลที่ฝังลึกในใจ จนอาจยากที่จะฟื้นฟูให้กลับมาดีดังเดิม ตัวเรารวมถึงคนใกล้ชิด จะช่วยเหลือและเข้าใจเด็กๆ เหล่านั้นได้อย่างไร มาดูกัน!
ต่อสู้กับความกลัว
หลายครั้งเด็กๆ ที่เป็นเหยื่อ จะต้องรับมือกับอาการหวาดกลัว / หวาดระแวงจนมีอุปสรรคในการใช้ชีวิต จึงทำให้คนใกล้ชิด พ่อ-แม่ หรือ ผู้ปกครองจะต้องดูแลพวกเค้าเป็นพิเศษ..
เพราะผู้ที่ถูกทำร้ายจะเกิดความกลัวที่กระทบกระเทือนต่อจิตใจ จนสมองอาจส่งสัญญาณให้ต่อต้านเหตุการณ์ในลักษณะคล้ายกัน เช่น การกลัวผู้คน , กลัวผู้ชายเข้าใกล้-แม้แต่พ่อและญาติๆของตน
ช่วยเหลือด้วยความเข้าใจ
ผู้ที่ดูแลไม่ควรถอดใจ หรือ รีบเร่งในปฏิกิริยาที่ต่อต้าน ต้องปล่อยเวลาให้สภาพจิตใจค่อยๆ ฟื้นฟู ปลอบโยนให้เค้ารู้สึกปลอดภัย ใช้คำพูดว่า ‘จะอยู่ใกล้ ๆ ไม่ทิ้งไปไหน..’ โอบกอด , หลีกเลี่ยงคำที่บอกว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นแค่เรื่องเล็กๆ , รับฟังความรู้สึกโดยไม่ตัดสินพวกเค้า
อย่า ‘ขู่’ ถึงบทลงโทษที่ร้ายแรงต่อคนร้าย เช่น ถูกฆ่า ติดคุกตลอดชีวิต เพราะหากเป็นบุคคลที่เด็กรักและใกล้ชิด เค้าก็อาจยิ่งไม่กล้าบอกความจริง กลัวว่าคนๆนั้นจะถูกลงโทษหนัก จึงควรสอนเด็กๆว่า คนที่ทำผิดจะต้องได้รับการช่วยเหลือและตักเตือน เพื่อที่จะไม่สามารถไปทำร้ายใครอีก
ดูแลและปกป้อง
น่าเศร้าที่หลายๆเคสของเด็กซึ่งถูกทำร้าย พบว่าเป็นคนใกล้ชิดที่อาจข่มขู่จนเด็กไม่กล้าบอกใคร วิธีที่ดีที่สุด คือ การสอนบุตรหลานเมื่อมีใครมาแตะต้องโดยไม่อนุญาต กลั่นแกล้ง-ล้อเลียน หรือ ทำร้าย จะต้องรีบบอกพ่อ-แม่ , ผู้ปกครอง , คุณครูทันที ไม่ว่าคนๆนั้นจะเป็นคนที่เด็กรู้จักดีหรือไม่ก็ตาม รวมไปถึงให้ความปกป้องโดยพูดว่า ‘คนที่ถูกทำร้ายหรือเหยื่อไม่ใช่คนผิด!’
สอนบุตรหลานโดยคำนึงถึงช่วงวัย สอนให้รู้จักปกป้องสิทธิ์ในร่างกายของตนเอง แม้เด็กๆอาจยังไม่อาจแยกแยะได้ซะทีเดียว แต่การเตือนสอนก่อนที่เรื่องราว-เหตุการณ์ไม่คาดฝันจะเกิด ก็เป็นที่สิ่งพ่อแม่ – ผู้ปกครอง และคนใกล้ชิดสามารถทำเพื่อพวกเขาได้!
Photo by Jordan Whitt on Unsplash