คุณเคยมีอาการแบบนี้ไหมคะ งานก็ยุ่งชีวิตก็วุ่นวาย เวลาจะกินข้าวยังแทบไม่มี แต่อยู่ๆ รู้สึกเศร้าและเหงาจับใจ น้ำตาก็ไหลออกมาซะงั้น ! บางคนอาจสงสัยว่าฉันเป็นอะไรกันแน่ ? ทำไมถึงถึงเศร้าได้หล่ะ ? คุณอยากรู้สาเหตุมั้ย ? หาคำตอบด้วยกันในบทความนี้ค่ะ
ซึมเศร้าคืออะไร รักษายังไง?
โรคซึมเศร้า เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ในทุกช่วงของชีวิตคนเรา ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเป็นคนอ่อนแอ หรือล้มเหลว แต่เป็นเพียงการเจ็บป่วยอย่างหนึ่งของโรค
สาเหตุ : มาจากการสูญเสีย ความผิดหวัง ความเครียด สภาพจิตใจที่เกิดจากการเลี้ยงดู บางคนเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน สำหรับบางคนก็เกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุค่ะ
การรักษา : ใช้ยา และการรักษาทางจิตใจโดยการพบจิตแพทย์ และการปรับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทั้งความคิดและพฤติกรรม คนรอบข้างต้องเข้าใจ และเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด และมีวินัยร่วมมือทั้ง 2 ฝ่าย แล้วสภาพจิตใจจะค่อยๆ ดีขึ้นค่ะ.
อาการเป็นแบบไหน ?
อาการของโรคซึมเศร้าจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปเป็นเดือน ๆ หรือบางคนอาจจะเป็นในเวลา 1-2 อาทิตย์ ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง เช่นความรุนแรงของปัญหา พื้นฐานของสภาพจิตใจ
สังเกตอารมณ์และความคิดเปลี่ยนไปจากเดิม เริ่มเป็นคนอ่อนไหว เศร้าบ่อย ร้องไห้ง่าย รู้สึกเบื่อไปหมดทุกอย่าง อารมณ์หงุดหงิด มองอะไรก็รู้สึกว่ามันแย่ไปหมด รู้สึกท้อแท้ ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง รู้สึกไร้ค่า ไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป หลงลืมง่ายๆ ไม่มีสมาธิ ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง หลับยาก เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เริ่มท้องผูก ปากคอแห้ง ปวดหัว พูดน้อยลง ไม่ร่าเริง เก็บตัวมากขึ้นค่ะ
ฉันเป็นโรคซึมเศร้ามั้ย ? วิธีเช็คตัวเอง
อาการซึมเศร้าก็มีหลายระดับค่ะ แต่เราเช็คได้โดยทำแบบสอบถามภาวะซึมเเศร้า ที่ช่วยประเมินว่าเรามีอาการซึมเศร้าหรือไม่ รุนแรงมากแค่ไหน ? หรือสังเกตตัวเองโดยใช้เกณฑ์วินิฉัยเหล่านี้ค่ะ
- มีอาการซึมเศร้าแทบจะทั้งวัน
- ความสนใจในกิจกรรมต่างลดลงมากทุกวัน
- น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นมากภายใน1 เดือน เบื่อหรือเจริญอาหารมากกว่าปกติ
- นอนไม่หลับ หรือหลับมากเกินไป
- กระวนกระวาย อยู่ไม่เป็นสุข
- อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- รู้สึกไร้ค่า ใจลอย
- คิดถึงการฆ่าตัวตาย
คนที่จะเป็นโรคซึมเศร้าจะต้องมีอาการเหล่านี้ 5 อย่างขึ้นไปและเป็นอยู่นานกว่า 2 อาทิตย์ขึ้นไปค่ะ
Photo by Molnár Bálint on Unsplash