“แต่งงาน.. รึรีบมีลูกสิ จะได้ไม่เหงา!” และ อีกหลายความกังวลนู้น-นี่-นั่น ที่อาจทำให้ใจเราสับสน รึเป็นทุกข์ ซ้ำร้ายอาจลามไปถึงอาการของโรควิตกจริตต่างๆ Blog นี้จึงขอหยิบยกปัญหา ความเหงา vs ความกังวล ควรรับมือกับอาการเหล่านี้ยังไงเพื่อจะมีความสุขมากขึ้น
ว่าด้วยเรื่องของ ความเหงา..
มนุษย์รวมตัวกันเพื่อออกล่าสัตว์,ป้องกันภัยมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ถ่ายทอดมาสู่รุ่นต่อรุ่น.. จนศัพท์บางคำมีการนำมาใช้กับอาการของคนที่ชอบอยู่คนเดียว introvert หรือ social isolation , โรคซึมเศร้า (Depression) , พฤติกรรมด้านสังคมและวัฒนธรรม ฮิคิโคโมริ (Hikikomori) และความเหงาที่ส่งผลร้ายที่สุด คือ โรคจิตเภท (Schizophrenia)
มีการทดสอบโดยฉายแสงกระตุ้นเซลล์สมองในหนูทดลอง ปรากฏว่าหนูจะมีพฤติกรรมในการเข้าไปรวมกลุ่มกับหนูตัวอื่นๆ หากไม่พบใครก็จะหยุดพฤติกรรมเชิงสังคมนี้ แล้วถอยกลับมาอยู่เองตัวเดียว. การบรรเทาความเจ็บปวด , เผชิญกับปัญหา อยากมีเพื่อนแต่ไม่สามารถมีได้ จึงอาจทำให้หลายๆคนเริ่มเก็บตัว รู้สึกพอใจกับความเหงา และไม่อยากเสี่ยงผิดหวังอีก
แต่ประโยคที่ว่า ‘ความเหงาไม่ฆ่าใครตาย’ และ ‘ไม่มีใครควรเหงาตาย’ ยังใช้ได้อยู่เสมอ! สำหรับร่างกายมนุษย์ เซลล์สมองในส่วน DRN จะทำงานทุกครั้งที่คนเราชอบแยกตัวมากจนเกินไป เราจึงมีความสามารถที่จะดึงตัวเองออกจากความเหงาได้ (เว้นแต่จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดในฐานะ ‘ผู้ป่วย’)
รับมือกับ ‘ความกังวล’
ความกังวล คือ การคิดถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริงในอนาคตอันใกล้นี้ หรือ อาจเป็นสิ่งที่เราจินตนาการไปซะมากกว่า.. ความกังวลที่เหมาะสมจะมีประโยชน์และทำให้ชีวิตของเราปลอดภัยมากขึ้น (ไม่กังวลเลยนี่สิจะอันตรายกว่า) มีการยกตัวอย่าง ของ เด็ก ม.5 ที่ “กังวลว่าจะสอบตก.. เพราะไม่ตั้งใจอ่านหนังสือ” กับ “กังวลว่าในอนาคตจะเรียนปริญาเอกไม่จบ”
กังวลแบบแรก เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ต้องหาทางออกโดยลงมือทำ (อ่านหนังสือไปสอบ หรือให้เพื่อนติวให้) ดีกว่าคิดกังวลแล้วไม่ทำอะไรเลย. ส่วนความกังวลแบบที่สอง คือ การคิดถึงเรื่องที่เราควบคุมไม่ได้ (เริ่มออกทะเล..) จึงควรทำสิ่งอื่นทดแทนเพื่อควบคุมความกังวลให้ดีขึ้น
จัดการกับ ‘ชั่วโมงแห่งความกังวล’ โดยไม่ปล่อยให้เรื่องราวนั้นมารบกวนช่วงเวลาอื่นๆในแต่ละวัน พยายามอย่ากังวลก่อนนอน หากมีเรื่องใดที่ขบคิดไม่จบ ลองจดใส่กระดาษไว้แล้วกลับมาจัดการต่อในวันพรุ่งนี้ เวลาที่ผ่านไป.. จะมีทางแก้ และ ลดปัญหาที่กังวลอยู่ออกไปได้เสมอ!
ความเหงา , ความกังวล อาจวนเวียนเข้ามาในจิตใจของเราเป็นบางครั้ง แต่สิ่งนั้นไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เรายังจัดการให้อะไรๆ ดีขึ้นได้เสมอ! ชีวิตที่ไม่เป็นดั่งใจ แนวโน้มที่จะทำผิดแบบเดิมซ้ำอีก จึงควรอยู่ที่เหตุและผล พร้อมทางแก้เพื่อลดความเหงาและความกังวลในชีวิตกันนะคะ!
ภาพโดย Sasin Tipchai จาก Pixabay