วิถีแห่งการ ‘จิบชา’ สุดญี่ปุ่น ชาเขียวอร่อยๆ ต้องเริ่มต้นจากถ้วยชานี่ล่ะ เล่าให้เพื่อนๆ ฟังว่า กว่าจะดื่มด่ำกับรสชาติชาเขียวแท้ๆ เป็นยังไง ทั้งเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่มาจากความต่างของภาชนะแสนสวยค่ะ
มอง ‘ชา’ ผ่าน ‘ถ้วยชา’
ชาวบ้านในยุคเอโดะ ที่ดื่มชาจากการต้มใบชา (ชาเป็นสีน้ำตาล) ผู้ผลิตชาในเมืองอุจิ จึงคิดค้นกรรมวิธีผลิตชาใหม่ เกิดชาเขียวเรียวคุฉะสีสวย พร้อมถ้วย-ถาดสำหรับดื่ม ที่แฝงไปด้วย ‘โยโนะบิ’ (用の美) – ความงามจากการถูกใช้งาน ไม่ใช่ถูกจับวางขึ้นหิ้ง ประโยชน์ใช้สอยที่มาพร้อมความสุนทรีย์ค่ะ
ต้องมี ‘ภาชนะ’ ใส่ ‘ชาเขียว’
เราคุ้นเคยกับชาเขียวพร้อมดื่มใส่ขวด รึเบเกอรี่ที่มีส่วนผสมของชาเขียว แต่คนญี่ปุ่นเมื่อพูดถึงชา จะนึกถึงประเภทของใบชาและถ้วยชาแสนสวยที่ช่วยเพิ่มความผ่อนคลายในช่วงทรีไทม์ล่ะ
ยุโนมิ เซ็นฉะวัง และ คิริโกะ
ยุโนมิ คือ ถ้วยทรงสูง – ทรงกระบอก เก็บความร้อนดี เห็นได้ตามร้านอาหารญี่ปุ่น / ครัวเรือน ส่วนเซ็นฉะวังเป็นถ้วยปากกว้าง(ไม่มีหูจับ) อาจมีลวดลาย หรือ เคลือบผิวมันวาวเหมาะใช้ต้อนรับแขกค่ะ และการจิบชาเย็นสดชื่น ต้องนึกถึงแก้วทรงสวย เจียระไนด้านนอกเป็นลวดลาย – ลายตารางอย่างแก้วคิริโกะสุดคลาสสิค
กาน้ำชา
ความญี่ปุ่นจริงๆ ต้องมีกาน้ำชาคิวซุ หรือ กาสำหรับชงชาญี่ปุ่น เป็นรูปทรงเตี้ยๆ และมีขนาดเล็กกว่าชาฝรั่งทั่วไป รินน้ำชาออกได้พอดีๆ กับ 1 ถ้วย (ไม่แช่ใบชาทิ้งไว้ตลอดเหมือนชาฝรั่ง เพราะรสของชาจะฝาดได้) ด้ามจับจะอยู่ด้านข้างออกแบบมาเพื่อให้เอียงรินน้ำชาได้จนหยดสุดท้าย
ที่รองถ้วยชา / ถาด
ภาชนะของชาเขียวครบชุดยังไม่หมด จิบชาให้วิเศษควรมีจานสำหรับรองถ้วยชาและถาดด้วย ไม่ใช่แค่สวยเข้าชุดเหมือนๆกับ ถ้วย/จานชุดแบบตะวันตก แต่ในวัฒนธรรมญี่ปุ่นยังแสดงถึงความใส่ใจยามต้อนรับแขกค่ะ มีทั้งแบบถาดไม้ที่เห็นลวดลาย, ถาดเคลือบอุรุชิ (ลงรักสีดำ/สีแดง) แม้แต่ถาดประดับมุก
‘การจิบชา’ สไตล์ญี่ปุ่น จะเสริมคุณค่าของชาถ้วยนึง ให้ผ่อนคลายและเข้าถึงช่วงเวลาแบบถึงแก่น ลองสัมผัสด้วยตัวเองสิว่า ความกลมกล่อม-อร่อยของชาสักถ้วย เริ่มจากความงามที่เรียบง่ายจากภาชนะนี่ล่ะ!
Photo by Content Pixie on Unsplash